Sunday, November 25, 2007

ต้นราชพฤกษ์




พระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลกคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ทราบกันดีว่า วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตรงกับวันจันทร์ซึ่งตรงกับสีของพรรณไม้มงคลที่เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำชาติ คือ ต้นราชพฤกษ์ หรือ คูน ที่มีดอกสีเหลืองอร่ามสวยงาม โดยเมื่อปี 2530 มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศ จำนวน 99,999 ต้น ทุกวันนี้เราจึงเห็นต้นราชพฤกษ์อยู่มากมายทั่วประเทศไทย และยังเป็นไม้มงคลของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ด้วย


ต้นราชพฤกษ์ หรือ คูน (Cassia fistula) เป็นไม้ดอกในตระกูล Fabaceae เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนม



ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทางภาคเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ทางภาคใต้เรียกว่า อ้อดิบ ในปัตตานีเรียกว่า ลักเกลือ หรือ ลักเคย ชาวกะเหรี่ยงและในกาญจนบุรีเรียกว่า กุเพยะ



การดูแลรักษา
1.แสง ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
2.น้ำ ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้
3.ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
4.ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง
5.การขยายพันธุ์การตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
6.โรคไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
7.ศัตรูหนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars)จะมีอาการ ลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ
8.การป้องกันรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด
9.การกำจัดใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก



ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้[1]
ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
ดอก แก้แผลเรื้อรัง


ความเชื่อ

คนไทยในสมัยโบราณเชื่อว่า ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านเรือนมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นทวีคูณ ซึ่งความเป็นจริงคือทิศดังกล่าวจะได้รับแดดจัดตลอดช่วงบ่าย จึงควรปลูกต้นไม้ใหญ่เพื่อให้ลดความร้อนและทำให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น[2]
คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม



เกร็ดเพิ่มเติม


-ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น
-ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจำ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
-ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ประจำ
กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ นวมินทราชูทิศ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร โรงเรียนนวมินทราชูทิศ มัชฌิม โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ อีสาน โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิน